อันดับ 1 แกงมัสมั่น, ประเทศไทย

Published 04/01/2012 by klimmyzberry


ราชาแห่งแกง และอาจจะเป็นราชาแห่งอาหารเลยก็ได้ ด้วยความเผ็ดร้อน ความหอมมันของกะทิ ความหวาน
และความอร่อย ที่รวมอยู่ในรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์กว่าอาหารไทยอื่นๆ

ส่วนผสมที่ต้องเตรียม

  • เครื่องแกงมัสมั่นสำเร็จรูป 50 กรัม
  • เนื้อน่องลาย 100 กรัม
  • กะทิสด 300 กรัม
  • น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลปี๊ป 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ
  • หอมแดง 3 หัว
  • มันฝรั่งหั่นเป็นชิ้นๆ 1 หัว
  • ถั่วลิสงคั่วป่น 2 ช้อนชา
  • ถั่วลิสงเม็ด 15 เม็ด
  • ยี่หร่า 1/2 ช้อนชา

เตรียมส่วนผสมพร้อมแล้ว ถึงเวลาลงมือปรุง เริ่มจากแบ่งกะทิสดเป็น 2 ส่วนโดยประมาณ จากนั้นนำเนื้อน่องลาย และถั่วลิสงไปเคี่ยวกับกะทิส่วนที่ 1จนถั่วลิสงสุกเป็นเม็ดใส และเนื้อเปื่อยนุ่ม นำมาหั่นเป็นชิ้นๆ พักทิ้งไว้ หันมานำกะทิส่วนที่ 2 ตั้งเคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนแตกมัน แล้วนำเครื่องแกงมัสมั่น และถั่วลิสงป่นลงไปผัดเคี่ยวกับกะทิให้หอม ใส่มันฝรั่งตามลงไป เคี่ยวจนสุกนุ่ม จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดลงเคี่ยวรวมกัน เคี่ยวจนเครื่องแกงเข้าเนื้อ แล้วจึงใส่หอมแดงเคี่ยวให้สุกอีกที และปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย น้ำมะขามเปียก ชิมรสตามใจปาก เท่านี้ก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้นกระบวนการทำ ได้ “แกงมัสมั่นเนื้อน่องลาย” กินคู่กับข้าวสวยร้อนๆ  หรือจะเป็นโรตี หรือ ขนมปังปิ้งก็อร่อยเด็ดดีแท้

อันดับ 2 neapolitan pizza, อิตาลี

Published 04/01/2012 by klimmyzberry

พิซซ่าที่ดีที่สุดและยังคงความเรียบง่ายในแบบ neapolitan ได้รับการควบคุมจากองค์การการค้า
ให้ใช้เกลือทะเล แป้งสาลีคุณภาพสูง มะเขือเทศสดเพียงสามชนิด รีดแป้งด้วยมือ และใช้เตาอบที่ใช้ฟืน 
รวมถึงข้อกำหนดในเรื่องคุณภาพอื่นๆ

ประวัติ

                        ประวัติของพิซซ่าเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 79 เมื่อภูเขาไฟวิสุเวียสระเบิดขึ้นและทลายเมืองปอมเปอีทั้งเมือง หลังจากนั้นประมาณ ค.ศ. 640 แกตาโน ฟิโอเรลลี่ ได้ค้นพบเตาฟืนโบราณจำนวนมากมายในซากปรักหักพังของเมือง ที่ถูกลาวาถล่ม หนึ่งในจำนวนเตาทั้งหมดนั้นพบว่ามีเถ้าถ่านขนมปังติดอยู่ในเตาอยู่ถึง 7 กิโลกรัม ซึ่งเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าทหารโรมันในช่วงเวลาดังกล่าว (ก่อนเมืองปอมเปอีจะถูกถล่มด้วยลาวาและเถ้าภูเขาไฟ) ต่างกินขนมปังที่อบด้วยเตาฟืนโบราณนี้ ซึ่งสันนิษฐาน ได้ว่าชาวเมือง ในเมืองนาโปลีก็ทานขนมปังที่อบในเตาฟืนโบราณเช่นนี้มาประมาณ 700 ปีแล้ว ต่อมาในต้น ค.ศ. 1700ชาวเมืองนาโปลีจึงได้เริ่มประยุกต์ใส่มะเขือเทศกับสมุนไพรบางอย่างลงในขนมปังแล้วนำไปอบในเตาฟืนโบราณ นี่เองคือจุดเริ่มต้นของมารีนาราพิซซ่า และร้านพิซเซอเรียร้านแรกในนาโปลี ได้เปิดขายในปี ค.ศ. 1830

โดยร้านดังกล่าวใช้วิธีการอบพิซซ่าในเตาที่ทำจากหินภูเขาไฟ อีกประมาณร้อยปีต่อมา (นับจาก ค.ศ. 1700) และชีสเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในอาหาร แต่ชีสดังกล่าวไม่ใช่ชีสปกติธรรมดาทั่วไป เป็นชีสที่ทำจากน้ำนมควายพื้นเมืองที่ชื่อ ฟิออเร่ ดี บัฟฟาล่า ประมาณปี ค.ศ. 1850 จึงเกิดพิซซ่ามาเกอริต้าขึ้นโดย ราฟาเอล เอสโปสิโต แห่งเมืองเนเปิล ซึ่งได้ทำพิซซ่าถวายเมื่อคราวที่สมเด็จพระราชาธิบดีอุมแบร์โตที่ 1 และสมเด็จพระราชินีมาเกอริต้าได้เสด็จเยือนเมืองเนเปิล โดยใช้สีบนหน้าพิซซ่าแทนสัญลักษณ์ของธงชาติอิตาลี โดยใช้ใบเบซิลแทนสีเขียวใช้มอสซาเรลล่าชีสแทนสีขาวและมะเขือเทศแทนสีแดง และตั้งชื่อพิซซ่าเพื่อเป็นเกียรติแด่พระราชินีว่า มาเกอริต้า ซึ่งพระนางก็ได้ทรงพระอนุญาตให้ใช้ชื่อพระนางเป็นชื่อของพิซซ่าเมื่อปี ค.ศ. 1889 ซึ่งพิซซ่าดังกล่าวได้กลายเป็นมาตรฐาน ของพิซซ่าในปัจจุบัน ซึ่งพิซซ่าในปัจุบันโดยทั่วไปต่างก็ดัดแปลงหน้ามาจากพิซซ่า 2 ชนิดนี้ ซึ่งเป็นพิซซ่าดั้งเดิมของชาวนาโปลี คือมารีนาราพิซซ่าและมาเกอริต้าพิซซ่า

ตำนาน

กาลครั้งหนึ่งในสมัยกรุงโรมโน้น ได้มีผู้ค้นพบหลักฐานบันทึกว่า .. “มีแป้งแผ่นกลมๆบางๆปรุงด้วยน้ำมะกอก สมุนไพร น้ำผึ้ง วางบนหินร้อน สักพักก็สุก” สมัยนั้นเรียกกันว่า Placenta กาลต่อมาในปีค.ศ.79 นักโบราณคดีพบว่ามีร้านขายพิซซ่าอยู่ที่เมืองปอมเปอี ที่เคยถูกภูเขาไฟระเบิดพ่นลาวาทับทั้งเมือง   เวลาผ่านไป(เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมานี้) เมืองนาโปลี ได้กลายเป็นต้นกำเนิดของพิซซ่าสมัยใหม่ โดยมีร้านพิซซ่าแห่งแรกชื่อพอร์ต อัลบ้า (Port’ Alba) และก็มีอีกหลายๆร้านเปิดตามมา พิซซ่าชาวนาโปลีจะอบในเตาที่ก่อด้วยหิน จากภูเขาไฟเวซุเวียส เนื่องจากกระจายความร้อนได้สม่ำเสมอ และใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง   ต่อมามีคนทำพิซซ่ามือเยี่ยมคนหนึ่งนาย ดอน ราฟาเอล เอสโพสิโต เป็นคนแรกที่ใช้มอซซาเรลล่าชีส หรือชีสนมควาย เป็นเครื่องปรุง ชาวเมืองนิยมชมชอบมากจนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของพิซซ่านาโปลี และแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน  เอกลักษณ์สำคัญของพิซซ่านาโปลี ต้องอบในเตาที่อุณหภูมิ 340 องศาเซลเซียส ต้องใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ต้องมีชีสมอซซาเรลล่า ผงเครื่องเทศออริกาโน (Origano) ปลาเค็มเอนโชวี (Anchovi)* มะเขือเทศ เบซิล (Basil) และกระเทียม  พอช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนอเมริกันก็หัดทำพิซซ่ากินกันบ้าง จนได้สูตรแบบอเมริกัน และแพร่หลายไปทั่วโลก  ครั้นปีค.ศ. 1960 เกิดเกิดสงครามเวียดนามทหารอเมริกันเข้ามาตั้งฐานทัพในเมืองไทย ได้นำเอาวัฒนธรรมการกินพิซซ่าเข้ามาด้วยแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก สมัยนั้นต้องไปกินกันตามโรงแรม และห้องอาหารอิตาเลียนเท่านั้น แต่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2513 ร้านพิซซ่าฮัท มาเปิดสาขาแรก เด็กไทย คนรุ่นใหม่ก็แห่กินกันทั้งบ้านทั้งเมือง ทุกวันนี้การกินพิซซ่าไม่ได้ยากลำบากอีกแล้ว เพียงโทรศัพท์กริ๊งเดียวภายใน 15 นาทีก็มาส่งถึงบ้านแล้ว

อันดับ 3 ช็อคโกแลต, เม็กซิโก

Published 04/01/2012 by klimmyzberry

ชาวมายันดื่มช็อคโกแลต เมล็ดโกโก้ที่ออกจากป่ามาเข้าสู่การพัฒนาในการทำอาหาร หากปราศจากเนื้อครีม 
รสหวานปนขม ของช็อคโกแลต วันวาร์เลนไทน์และอีสเตอร์คงดูจืดชืดลงไป

                 หลายท่านคงได้อ่านบทความเกี่ยวกับช็อคโกแลตจากชาวบล็อคหลายท่านแล้ว ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงคุณประโยชน์ สรรพคุณ และประวัติที่มาของช็อคโกแลตกันแล้วนะครับ ผมคงไม่เมีอะไรจะเขียนอีกแล้ว…เอ๊ยย..ไม่ใช่!!!! ก็จะเขียนบทความเกี่ยวกับการแปรรูปกันบ้าง แต่ครั้งนี้จะขอแนะนำการแปรรูปแบบดั้งเดิมของชาวเม็กซิกัน ที่ทำกันมานมนานซึ่งจะต่างกันกับการแปรรูปในระดับอุตสาหกรรมนะครับ

                 เป็นที่รู้กันว่าที่มาของช็อคโกแลตก็คือ ผลโกโก้ นั่นเอง และถึ่นกำเนิดของโกโก้ก็มาจากเม็กซิโก ผู้ที่นำมาเผยแพร่สู่ยุโรปคนแรกก็คือ เฮอร์นานโด คอร์เตซ ( Hernando Cortez the first Conquistador )  ผู้พิชิตเม็กซิโกหรืออาณาจักรแอซแทค ( จะว่าไปก็ปล้นเขามาอ่ะนะ ) ในสายตาขอชาวคริสต์ เขาคือ นักผจญภัย, นักเดินเรือ และมิชชันนารีผู้ยิ่งใหญ่ ที่สามารถเปลี่ยนคนป่าเถื่อนให้ยอมรับศาสนาคริสต์ได้ แต่ในสายตาของชนพื้นเมือง คอร์เตซคงไม่ต่างอะไรจากโจรปล้นชาติที่นำทุกอย่างไปจากชาวแอซแทค  ช็อคโกแลตก็เป็นหนึ่งในของแปลกใหม่ที่คอร์เตซนำกลับไปยุโรป จากนั้นเป็นต้นมาช็อคโกแลตได้ถูกวิวัฒนาการทั้งรสชาติ,รูปแบบการบริโภคและการแปรรูปในแบบต่างๆโดยชาวยุโรปจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก

                 แต่กระนั้นกรรมวิธีแปรรูปและรูปแบบการบริโภคในเม็กซิโกยังคงค่อนข้างเป็นแบบดั้งเดิมเหมือนครั้งที่ยังเป็นอาณาจักรแอซแทค ชาวเม็กซิกันยังนิยมบริโภคช็อคโกแลตในรูปแบบของเครื่องดื่มและเป็นวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหาร (?? งงล่ะสิ เอามาทำอาหารได้ด้วยเหรอ??)   เรามาดูกรรมวิธีการแปรรูปแบบดั้งเดิมเริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ( Havest ) การหมักบ่ม ( Fermentation ) การตากและอบแห้ง ( Drying ) ทีล่ะขั้นตอนกันเลยนะครับ

                 ปัจจุบันผลผลิตโกโก้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์มาจากแอฟริกา จึงไม่แปลกนะครับที่จะเห็นคนงานเป็นชาวแอฟริกา   เมื่อผลโกโก้สุกแก่ถูกสอยจากต้นมาแล้วจะทำการผ่าออกและแกะเอาเม็ดในออกมา  และเมื่อตัดผ่านเม็ดจะเห็นเมล็ดโกโก้เป็นสีม่วงอมน้ำตาล  เมล็ดโกโก้นี้เมื่อนำไปหมักบ่มจะกลายเป็นสีน้ำตาล การเก็บและแกะเมล็ดโกโก้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง  ผู้เก็บจะต้องมีทักษะพอสมควรที่จะไม่ทำให้เมล็ดเสียหายได้   การหมักบ่มจะเริ่มทันทีที่เก็บเมล็ดมาถึงโรงบ่ม เมล็ดโกโก้จะถูกเทผึ่งในกระบะไม้และวางไว้ในที่แจ้งโดยจะปิดเมล็ดโกโก้ด้วยใบตอง เมื่อแสงแดดส่องลงมาใบตองจะกักความชื้นให้เมล็ดโกโก้ (เหมือนการนึ่งกลายๆ) เมื่อเมล็ดโกโก้คายความชื้นออกมาจะเกิดปฎิกริยาเคมี เนื้อโกโก้สีขาวที่มีน้ำตาลผสมอยู่จะเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นผลมาจากยีสต์ตามธรรมชาติ เมื่อบ่มต่อไปเรื่อยๆ จากแอลกอฮอล์ก็จะเปลี่ยนเป็นกรดอาซิติคซึ่งจะค่อยๆเปลี่ยนเมล็ดโกโก้เป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อกลิ่นและรสชาติที่ดีขึ้น ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-7 วันก็จะไปสู่ขั้นตอนการตากแห้ง

เมื่อสิ้นสุดกระบวนการหมักบ่ม เมล็ดโกโก้ยังมีความชื้นสูงอยู่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ( จากที่เก็บมาครั้งแรก ) จำเป็นจะต้องทำให้แห้งโดยการตากโดยให้เหลือความชื้นได้แค่ 5-7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น  เมล็ดโกโก้จะถูกเกลี่ยบนแคร่ไม้หรือบนลานเพื่อให้แดดส่องอย่างทั่วถึง การตากแห้งนี้จะใช้รยะยเวลา 5-7 วัน ในขั้นตอนนี้เมล็ดโกโก้ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นและรสชาติอย่างต่อเนื่อง เมล็ดโกโก้จะแห้งเร็วยิ่งขึ้นและไม่เกาะติดกันเมื่อผ่านการล้างก่อนที่จะนำมาตากให้แห้ง แต่ก็เป็นการเสี่ยงที่จะทำให้เมล็ดแตกหักได้ในระหว่างการล้าง เมื่อเมล็ดแห้งแล้วจะถูกบรรจุกระสอบเพื่อจัดส่งไปยังโรงงาน  ที่โรงงานช็อคโกแลตในรัฐโอซาคา, เม็กซิโก เมล็ดโกโก้จะถูกคัดแยกเกรดอีกครั้ง เพื่อเตรียมสำหรับการคั่ว  หม้อคั่วจะเป็นทรงกลมหมุนติ้วๆในขณะที่คั่ว ทุกๆ 20 นาที เจ้าหน้าที่จะเปิดหม้อคั่วและดูว่าคั่วได้ที่แล้วหรือยัง ระยะเวลาการคั่วขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดโกโก้ดิบแต่จะไม่เกิน 40 นาที เมื่อได้สีและกลิ่นที่ต้องการแล้วก็จะหยุดและเปิดออกมาพึ่งให้เย็นในถาดไม้ขนาดใหญ่  เมื่อเมล็ดโกโก้เย็นแล้วจะนำไปบดละเอียด เพื่อให้ได้ช็อคโกแลตดิบ หรือ ช็อคโกแลตลิเคอร์ ซึ่งหากทิ้งไว้ให้เย็นตัวลงช็อคโกแลตลิเคอร์ก็จะแข็งเยี่ยงหิน  พอมันแข็งก็เอาไปบดเป็นผงผสมกับน้ำตาล, อัลมอนด์บด, อบเชยและส่วนผสมอื่น  เมื่อบดช็อคโกแลตผสมกันเรียบร้อยก็นำมาอัดแท่งอีกที แล้วแพคห่อบรรจุขายต่อไป

อันดับ 4 ซูชิ, ญี่ปุ่น

Published 04/01/2012 by klimmyzberry

อาจไม่มีอะไรซับซ้อนมากกว่าปลาดิบและข้าว แต่กลับเป็นวิธีที่ปลาและข้าว
อยู่ด้วยกันแล้วทำให้ทั่วโลกชื่นชอบ

                  ซูชิ (ญี่ปุ่น: 寿司 sushi  และมีการเขียนหลายแบบ ได้แก่ すし、鮨、鮓、寿斗、寿し、壽司 ) หรือ ข้าวปั้นมีหน้า เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือ ของคาวชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น และซูชิส่วนใหญ่มักใส่วาซาบิ บนข้าวเพื่อให้ได้ความอร่อยมากยิ่งขึ้น
ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น
คำว่า “ซูชิ” นิยมหมายถึง นิงิริซูชิ ที่เป็นข้าวมาอัดเป็นก้อนและมีเนื้อปลาวางบนด้านหน้าเท่านั้น
            ประเภทของซูชิ

  • นิงิริซูชิ (Nigiri Sushi) เป็นซูชิพบได้บ่อยในภัตตาคาร ซูชิจะมีลักษณะข้าวเป็นก้อนรูปวงรีแล้ววางเนื้อปลาดิบ ปลาหมึก ฯลฯ ไว้ข้างบน อาจจะใส่วาซาบิเล็กน้อย หรือตกแต่งด้วยสาหร่ายทะเลก็ได้ ซูชิแบบนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด
  • มากิซูชิ (Maki Sushi) มีวิธีทำ 3 แบบด้วยกัน (1) ม้วนข้าวไว้ด้านในสาหร่ายทะเลอยู่ด้านนอก   ม้วนสลับกับแบบแรกโดยที่สาหร่ายอยู่ด้านในส่วนข้าวอยู่ด้านนอก  ห่อเป็นรูปกรวย เรียกว่า แคลิฟอร์เนียเทมากิ
  • ชิราชิซูชิ (Chirashi Sushi) เป็นการจัดปลาดิบ ปลาหมึก กุ้ง ผัก ฯลฯ ที่หั่นเป็นชิ้นๆ วางเรียงบนข้าวที่ใส่อยู่ในกล่อง
  • โอชิซูชิ (Oshi Sushi) หรือรูปแบบคันไซจากเมืองโอซาก้า เอาข้าวมาอัดลงในแม่พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมตามยาวหั่นขนาดพอดีให้รับประทานเป็นคำๆ แล้ววางเนื้อปลาไว้ด้านบน
  • อินะริซูชิ ซูชิที่นำเนื้อมาใส่ในเต้าหู้ที่มีลักษณะเป็นถุง

    หน้าของซูชิ


อันดับ 5 เป็ดปักกิ่ง, จีน

Published 04/01/2012 by klimmyzberry

น้ำเชื่อมที่เคลือบที่ผิวที่เป็นความลับ ย่างช้าๆ ในเตาอบ จนกรอบ

                เครื่องปรุง

1.  เป็ดโป๊ยไฉ่ น้ำหนักประมาณ 3-3 กิโลครึ่ง
2.  แบะแซ 1 ถ้วย

ส่วนผสมน้ำจิ้ม 

1.  เต้าเจี้ยว 1 ถ้วย
2.  น้ำตาลทราย 1 ถ้วย

แป้งเป็ด 

1.  แป้งสาลี แป้งมัน อย่างละ 1 ถ้วย
2.  น้ำมันหมู 3 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ 
–   นำเป็ดมาล้าง เอาเครื่องในออกให้สะอาด แล้วเป่าลมเข้าตัวเป็ดให้พอง
–   ต้มน้ำให้เดือด หม้อนึ่งใส่แบะแซลงไป เอาเป็ดลงไปลวก
–   แล้วเอานำแขวนตะขอ ผึ่งลมจนแห้ง
–   นำมาย่างในเตาเป็ด ใช้ระดับความร้อนต่ำสุด ใช้เวลาประมาณ 7 นาที

วิธีทำน้ำจิ้ม

–   นำเอาเต้าเจี้ยวมาต้มเคี่ยวกับน้ำตาล ประมาณ 2 ชม. จนเปื่อยแล้วกรองเอากากทิ้ง ให้มีรสหวานเค็มตามใจชอบ

วิธีทำแป้งเป็ด

–  ใช้แป้งสาลีกับแป้งมัน นวดให้เข้ากันจนเหนียว แล้วปั้นเป็นท่อนกลมๆ แล้วตัดเป็นก้อนเล็กๆ
–  ใช้ไม้คลึงแผ่เป็นแผ่นบางๆ นำไปผึ่งไฟในกระทะที่มาน้ำมันให้สุกเกรียม เก็บใส่ตู้เย็น เวลาทานจึงเอามานึ่งอีกที

วิธีรับประทาน 

ควรใช้ตะเกียบตามสไตล์จีนคีบหนังเป็ดปักกิ่งซึ่งแล่เป็นชิ้นๆจิ้มน้ำจิ้มตามใจชอบ วางบนแผ่นแป้ง จะใส่แตงกวาหรือต้นหอมเป็นเครื่องเคียงด้วยก็ได้ แล้วม้วนแป้งหยิบใส่ปาก รสชาติอยู่ที่ความมันและความกรอบของหนังเป็ดปักกิ่ง

อันดับ 6 แฮมเบอร์เกอร์, เยอรมัน

Published 04/01/2012 by klimmyzberry

การรวมกันของขนมปัง เนื้อ สลัด ก็เป็นทางออกที่ดีสำหรับประเทศที่ผลิตเนื้อได้มาก

                  เครื่องประกอบ

1.   หมูบด 500 กรัม
2.  หอมใหญ่สับละเอียด 1 หัว
3.  กระเทียมตำละเอียด1/2 ช้อนโต๊ะ
4.  เห็ดฟางสดสับหยาบๆ 5 ดอก ในเยอรมนีใช้เห็ดสดชำปิงยอง
5.  แคร์รอดฝนละเอียดยาวๆ 2 หัว
6.  เกลือหรือผงคนอร์ 1 1/2 ก้อน ถ้าใส่เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
7.  ไข่ไก่ 3 ฟอง
8.  ผงขนมปังป่นอย่างละเอียด 1 ถ้วยกาแฟ
9.  ถั่วฝักยาวหั่นละเอียดเหมือนใส่ผสมทอดมัน 10 ฝัก เพราะถั่วจะมีรสกรุ๊ปอร่อย

                  วิธีผสม

นำเอาหมูบดลงไปในอ่างใหญ่พอสมควร จากนั้นหอมสับ กระเทียมสับ แล้วเคล้าให้เข้ากัน  จากนั้นตามด้วยแคร์รอด เห็ดสับ ถั่วฝักยาว เคล้าผสมให้เข้ากัน จึงใส่เกลือหรือผงคนอร์ลงไป  แล้วเคล้าผสมให้ทั่ว จากนั้นตีไข่ใส่ลงไปแล้วเคล้าให้ทั่ว เมื่อใส่ไข่ลงไปเนื้อหมูจะเหลว จึงใส่ขนมปังป่นลงไปแล้วเคล้าให้ขนมปังอมความเหลวนั้น ลองนำเอามาปั้นเป็นชิ้นกลมๆ หากเนื้อหมูยังเหลวมาก เติมขนมปังป่นลงไปอีกเล็กน้อย  จากนั้นนำเอากระทะตั้งไฟอ่อนๆนำเอาหมูใส่ลงในกระทะช้อนหนึ่งแล้วปล่อยสุก  ลองชิมรสว่าออกเค็มที่ต้องการหรือเปล่าหากยังจืดต้องใส่ผงคนอร์ลงไปแล้วเคล้าให้เข้ากัน  จากนั้นปั้นเป็นชิ้นเหมือนแฮมเบอร์เกอร์ แล้วนำเอาไปทอดในกระทะ  ใส่น้ำมันในกระทะเล็กน้อยอย่าทอดไฟแรงจะไหม้ หมูแฮมนี้จะออกเหลวนิดๆ  ตอนที่ยังไม่ทอด พอเอาลงไปทอดในกระทะจะนิ่มน่ารับประทานมาก ทานกับขนมปังหรือข้าว  อร่อยมากคะ ขอให้ลองทำในช่วงปีใหม่แล้วจะได้อาหารที่ถูกใจจ้า

อันดับ 7 Penang asam laksa, มาเลเซีย

Published 04/01/2012 by klimmyzberry

 

ปลาทู มะขาม พริก สะระแหน่ ตะไคร้ หัวหอม สับปะรด ตุ๋น หนึ่งในอาหารของมาเลเซีย
ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ด้วยรสเผ็ด เปรี้ยว ที่เข้ากันกับเส้นก๋วยเตี๋ยว

                       หนึ่งจานที่ท่องเที่ยวที่ทุกคนต้องพยายามออกเมื่อเข้าสู่ ปีนัง เป็นปีนัง Asam Laksa มันสามารถใช้ได้ที่ร้านหาบเร่จำนวนมากและร้านอาหารทั้งหมดทั่วเกาะแม้ว่าทั้งหมดของพวกเขา tout Asam Laksa จานของพวกเขาเป็นที่ดีที่สุดที่มีชื่อเสียงที่สุดแผงลอย Asam Laksa ในปีนังเป็นหนึ่งในปฏิบัติการที่ตลาดแอร์ Itam บางคนเชื่อว่าจานที่อาจได้รับค่าโดยสารเดิมของชาวประมงเป็นส่วนผสมหลักที่ใช้มีขนาดเล็กและน้อยกว่าชนิดที่ชื่นชอบของปลา  วัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างจานยั่วเย้านี้จะง่ายและสามารถพบได้เกือบทุกที่ กระเทียม, ตะไคร้, ขมิ้นสด, หอมแดง, น้ำพริกและ Belacan มีสายดินทั้งหมดลงวางก่อนที่จะเริ่มต้นในน้ำซุปวางมะขามมีการผสมแล้วด้วยน้ำอุ่นและ sieved บีบลงไปในหม้อหุ้นและนำไปต้ม ใบสะระแหน่เวียดนาม, น้ำตาล, ชิ้นมะขามแห้งหรือที่รู้จักกันในท้องถิ่นเป็น Asam keping ชิ้นของคบเพลิงขิงตาหรือ Bunga kantan และพื้นดินวางของเครื่องเทศที่มีการเพิ่มเข้าไปในน้ำซุปเดือด ปลาทูปลาทำความสะอาดทั้งหมดจะถูกเพิ่มเข้าไปในหุ้นและนำมาต้มจนสุก ปลาจะถูกลบออกแล้วตั้งค่าให้เย็นก่อนที่จะทำความสะอาดออกจากกระดูกและเนื้อของมันผลัด น้ำซุป simmered เพื่อลดและกระชับรสชาติ ใบสะระแหน่และชิ้นมะขามอบแห้งจะถูกลบออกก่อนที่จะวางในเนื้อปลาที่ flaked หน้าที่ของมันมักจะมีก๋วยเตี๋ยวหนาโรยหน้าด้วยแตงกวาหั่นบาง ๆ , สับปะรด, หัวหอม, ใบสะระแหน่และวางช้อนเต็มของกุ้งหนา  แม้ว่าการรวมกันทั้งหมดของรสชาติของน้ำเกรวี่ที่ก๋วยเตี๋ยวและเครื่องปรุงรสที่ผสมได้เป็นอย่างดีด้วยกันก็เป็นซุปที่คนส่วนใหญ่รัก มากเพื่อให้มีสถานที่บางอย่างในปีนังที่ปอเปี๊ยะทอดที่มีขายพร้อมกับน้ำซุปเท่านั้นเพื่อให้ผู้บริโภคอาจจุ่มปอเปี๊ยะทอดกรอบลงไปในน้ำซุปก่อนที่จะรับประทาน ไม่น่าแปลกใจที่พบว่าบางส่วนของอาหารเหล่านี้ยังสามารถพบได้ในรัฐอื่น ๆ เหล่านี้แม้ว่าบิดเล็กน้อยเพื่อให้สูตร ตัวอย่างเช่น Laksa ที่เป็นที่นิยมใน อีโปห์ จะคล้ายกับหนึ่งในปีนังยกเว้นว่าอีโปห์ Laksa เล็กน้อยเปรี้ยวมากขึ้นและมีวางกุ้งในน้ำเกรวี่ของพวกเขา Laksa ยะโฮร์ มีเพียงสิ่งเดียวที่เหมือนกันกับปีนัง Asam Laksa — ชนิดของปลาที่นำมาใช้ แต่แตกต่างในทุกอย่างอื่น  จะปรากฏว่าผู้บริโภคที่ไม่ทราบชนิดของก๋วยเตี๋ยวที่ใช้ในชามของ Asam Laksa ตราบเท่าที่มันอร่อย กลิ่นหอมของน้ำเกรวี่ที่ wafts ที่จมูกของพวกเขาในความคาดหมายของการกัดเป็นหนึ่งช้อนเต็มของก๋วยเตี๋ยวที่ slurping และสุดท้ายมันทั้งหมดลงมีขนาดใหญ่ของอร่อย Asam Laksa จะขลังพอที่จะส่งพวกเขาไปสู่​​สถานะของจิตใจอื่นที่ไม่มีอะไรสามารถ มาระหว่างพวกเขาและชามเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพวกเขาจากสวรรค์

อันดับ 8 ต้มยำกุ้ง, ประเทศไทย

Published 04/01/2012 by klimmyzberry

อาหารอันโด่งดังของไทย กุ้ง เห็ด มะเขือเทศ ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูด กับกะทิที่เข้มข้น ให้รสชาติเปรี้ยว เค็ม และเผ็ด ถูกปาก

                เครื่องปรุง + ส่วนผสม

1.  กุ้งขนาดกลาง 12 ตัว (ปอกเปลือก, ทำความสะอาด)

2.  เห็ดฟาง 10 อัน

3.  ตะไคร้ 1 กำ  (ทุบให้แหลกและหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 2″)

4.  ใบมะกรูด 3 ใบ

5.  เกลือ 1 ช้อนชา

6.  น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ

7.  น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ

8.  พริกขี้หนู 6 เม็ด (ทุบพอให้แหลก)

9.  น้ำสะอาด 4 ถ้วยตวง

10.  ผักชี 1/2 ถ้วยตวง (หั่นหยาบ)

                 วิธีทำทีละขั้นตอน

1.   ปอกเปลือกกุ้งออก เหลือหางไว้ (เพื่อความสวยงามเมื่อปรุงเสร็จ) จากนั้นหั่นด้านหลังกุ้งเพื่อเอาเส้นเลือดสีดำออก เสร็จแล้วนำเห็ดฟางไปล้างให้สะอาด หั่นเป็น 4 ส่วนและนำไปผึ่งให้แห้ง

2.   นำน้ำเปล่าไปต้มในหม้อ จากนั้นใส่ตะไคร้, ใบมะกรูด และกุ้ง เมื่อสีกุ้งเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพู (เริ่มสุก) ใส่เห็ดที่หั่นไว้แล้วและเกลือ

3.   หลังจากน้ำเดือดแล้วปิดไฟ และ้นำหม้อออกมาจากเตา ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำมะนาว และพริกขี้หนู เมื่อปรุงรสเสร็จตักเสิรฟในถ้วย ตกแต่งด้วยผักชีและเสิรฟทันที พร้อมด้วยข้าวสวยร้อนๆ

อันดับ 9 ไอศครีม, สหรัฐอเมริกา

Published 04/01/2012 by klimmyzberry


สไตล์ไอศครีมของอเมริกาที่จะมี ถั่วต่างๆ มาชเมลโลว์ และช็อคโกแลตซอส

                  ประวัติความเป็นมาของไอศกรีม

                 จากการค้นคว้าย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์มีหลายตำนานระบุถึงถิ่นกำเนิดของไอศกรีม ตำนานแรกย้อนหลังไปสมัยศตวรรษที่ 1 จักรพรรดิเนโรห์ แห่งอาณาจักรโรมันได้พระราชทานเลี้ยงไอศกรีมแก่เหล่าทหารที่อยู่ในกองทัพ โดยทรงออกคำสั่งให้ทาสไปขุดน้ำแข็งจากภูเขานำมาผสมเข้ากับน้ำผึ้งและผลไม้ ซึ่งต่อมาเรียกไอศกรีมประเภทนี้ว่า เชอร์เบ็ทหรือซอร์เบท์
จนปลายศตวรรษที่ 13 มาร์โคโปโลซึ่งเดินทางไปใช้ชีวิตในจีนนาน 16-17 ปี ได้นำสูตรนี้กลับมาแพร่หลายในอิตาลีซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่คนตะวันตกรู้จักการนำน้ำแข็งและเกลือมาเป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความเย็น คนอิตาเลียนจึงถือว่าตนเป็นต้นตำรับไอศกรีมแบบที่นำมาปั่นให้เย็นจนแข็ง เรียกว่าเจลาติน    ร้านไอศกรีมร้านแรกเปิดที่ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐในปี 1776 ในปี 1782 มีบันทึกว่าในงานเลี้ยงฟิลาเดลเฟียปาร์ตี้ ซึ่งเจ้าภาพคือเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่การก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐอเมริกา โดยมีการทำไอศกรีมเสิร์ฟแขกผู้มีเกียรติให้หวานชื่นใจกันทั่วงานสำหรับต้นกำเนิดไอศกรีมซันเดย์นั้น มีหลายตำนานด้วยกัน ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับ ซันเดย์ หรือวันอาทิตย์แทบทั้งสิ้น เรื่องแรกเกิดขึ้นในยุควิคตอเรียน ในสหรัฐอเมริกา มาจากคำบอกเล่าของ “จอร์จ กิฟฟี่” คนดังแห่งรัฐวิสคอนซิน ระบุว่า เดิมทีการดื่มโซดาวันอาทิตย์ อันเป็นวันประกอบพิธีทางศาสนาและพักผ่อนของชาวคริสต์เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม กระทั่งหลายเมืองออกกฎหมายห้ามจำหน่ายโซดาในวันอาทิตย์ เจ้าของร้านขายยาต่างๆ ในเอแวนสตัน อิลลินอยส์ จึงได้บรรจุไอศกรีมและน้ำหวานไว้เป็นรายชื่อของถูกกฎหมายที่มีจำหน่ายในวันอาทิตย์เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้า โดยในวันอาทิตย์ที่อเมริกันชนชาวคริสต์ส่วนใหญ่ไปเข้าโบสถ์ ในวันนี้ผู้คนจะแต่งตัวสวยงามเมื่อเสร็จพิธีในโบสถ์แล้วก็จะชักชวนกันไปหาของหวานกินกัน ซึ่งไอศกรีมเป็นของหวานชนิดแรกๆ ที่ได้รับเลือก